ค้นหา

แม่กลองกับพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ภาค1

จุดเริ่มต้นของพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมในแม่กลอง

2535 พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม คือ พื้นที่อนุรักษ์สิงแวดล้อมที่กำหนดขึ้นตาม บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยเป็นกลไกทางกฎหมาย ที่สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการยับยั้งการดำเนินการหรือส่งเสริมการดำเนินการใดๆ อันเป็นการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ให้อยู่ได้อย่างสมดุลตามระบบนิเวศธรรมชาติและคงความสมบูรณ์เพื่ออนุชนรุ่นหลังได้ใช้ต่อไปในอนาคต

 
2544 พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด ถูกประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ ลำดับที่ 1099
พื้นที่ 546,875 ไร่ ในพื้นที่ 4 ตำบล คือ บางแก้ว บางจะเกร็งแหลมใหญ่ และ คลองโคน เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของหอยหลอด ที่เป็นลักษณะสำคัญของพื้นที่ และหอยอีกหลายชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในประเทศไทยและในภูมิภาค
3 พ.ย. 52 มติคณะรัฐมนตรีในมาตรการข้อ 6 ได้กำหนดให้พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับ ชาติ เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือ พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม หรือ  พื้นที่อนุรักษ์ในลักษณะอื่น
16 กุ.พ. 53  ณ.วัดศรัทธาธรรม
กองสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และ แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ในพื้นที่ ได้ร่วมหารือร่วมกัน โดยมีผู้เข้าประชุมทั้งหมด 30 คน ซึ่งเห็นควรให้มีการผลักดันการประกาศเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม บริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง โดยเร็ว และ สผ. ได้แจ้งหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อรับทราบการประกาศเขตคุ้มครองฯ
31 มี.ค. 53  ประชุมเสวนา การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอดอย่างมีส่วนร่วม ทาง สผ. ได้เสนอการประกาศพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นหนึ่งในการเสวนา
31 พ.ค. 53   สผ.ประชุมหารือและรับฟังฯ ที่ อบต.แหลมใหญ่ โดยมีผู้เข้าประชุมทั้งหมด 79 คน
1 มิ.ย. 53  สผ.ประชุมหารือและรับฟังฯ ที่ อบต.คลองโคน โดยมี    ผู้เข้าประชุมทั้งหมด 82 คน
4 มิ.ย. 53   สผ.ประชุมหารือและรับฟังฯ ที่ อบต.บางแก้ว โดยมีผู้เข้าประชุมทั้งหมด 89 คน
7 ก.ค. 53  สผ.ประชุมหารือและรับฟังฯ ที่ อบต.บางจะเกร็ง โดยมี    ผู้เข้าประชุมทั้งหมด 97 คน
 --
หนึ่งในข้อเสนอให้มีการทบทวนขอบเขตพื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอดที่ไม่ตรงกับ พื้นที่จริงในจังหวัด ซึ่งทาง สผ. ก็มีความเห็นว่าไม่น่าถูกต้อง เพราะ พื้นที่สันดอนดอนหอยหลอดมีเพียง 15,056.25 ไร่ พื้นที่4ตำบลมีเพียง 59,375 ไร่ พื้นที่จังหวัดมีเพียง 260,422 ไร่และพื้นที่ติดชายทะเลกว้าง 23 กม.
 
รูปที่ 1 เอกสารการประชุม 4 ตำบล วันที่ 31พค53 -7กค53
 

26-27 ส.ค. 53  สผ.ประชุมหารือและทำความเข้าใจ ที่ อบต.บางแก้ว โดยเอกสารประชุมมีการปรับเปลี่ยนแผนที่

30-31 ส.ค. 53 สผ.ประชุมหารือและทำความเข้าใจ ที่ อบต.แหลมใหญ่ และมีกลุ่มอนุรักษ์นอกพื้นที่เข้าร่วม

 

 รูปที่ 2 เอกสารการประชุม 2 ตำบล วันที่ 26-31สค53
 
สรุป ข้อเสนอและมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
 
1.) พื้นที่ คือ พื้นที่แรมซ่า 4 ตำบลและน่านน้ำอ่าวไทยตอนใน.
2.) จำแนกพื้นที่เป็น 2 บริเวณ คือ 1.ผืนน้ำ และ 2. พื้นดิน
3.) บริเวณที่ 1 ผืนน้ำ ห้ามกระทำการหรือกิจกรรมต่อไปนี้
3.1) ห้ามการปล่อยทิ้งของเสียหรือมลพิษ ลงสู่ทะเล เว้นแต่ผ่านการบำบัดตามมาตรฐานของราชการแล้ว
3.2) ห้ามการกระทำใดๆ ที่เป็นการเปลี่ยนสภาพธรรมชาติของสันดอนทราย
3.3) ห้ามการถมทะเล หรือ ชายตลิ่ง เว้นแต่เป็นนโยบายของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรี
3.4) ห้ามการล่วงล้ำลำน้ำ เว้นแต่สิ่งป้องกันการกัดเซาะ และ ท่าเทียบเรือสาธารณะสำหรับเรือประมงหรือเรือเพื่อการท่องเที่ยว ขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส
3.5) ห้ามการขุดลอดร่องน้ำ เว้นแต่เป็นการบำรุงรักษาทางน้ำ หรือ การดำเนินการเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ
3.6) ห้ามการราด สาด โรย หรือเทสารเคมีบริเวณสันดอน
3.7) ห้ามการประกอบกิจการ ร้านอาหาร ภัตตาคาร
3.8) ห้ามการนำกระท่อมเฝ้าหอยในทะเลเป็นที่พักค้างคืนนักท่องเที่ยว
4.) บริเวณที่ 2 พื้นดิน ห้ามกระทำการหรือกิจกรรมต่อไปนี้
4.1) ห้ามการขุด ตัก หรือ ลอด กรวด หิน ดิน ทราย เพื่อการค้า
4.2) ห้ามการปล่อยทิ้งของเสียหรือมลพิษ ลงสู่แหล่งน้ำ เว้นแต่ผ่านการบำบัดตามมาตรฐานของราชการแล้ว
4.3) ห้ามการทำให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติตื้นเขิน หรือ เปลี่ยนทิศทาง
4.3) ห้ามมิให้ก่อสร้าง ดัดแปลง หรือ เปลี่ยนการใช้อาคารใดๆ เป็นอาคารหรือประกอบกิจการดังต่อไปนี้
4.3.1.) โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทหรือทุกประชนิด เว้นแต่ในบริเวณพื้นที่ฟากเหนือของทางหลวงสายพระราม2
4.3.2.) อาคารเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน 10 ตร.เมตร หรือ อาคารเลี้ยงสัตว์ที่ก่อเหตุรำคาญตามกฎหมายสาธารณสุข
4.3.3.) ฌาปนสถาน เว้นแต่การก่อสร้างทดแทนหรือ ดัดแปลงของเดิมในพื้นที่เดิม ซึ่งต้องมีระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างและอาคารประกอบของระบบฯต้องเป็นไปตามมาตรฐานของราชการ
4.3.4.) คลังน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานที่ใช้ในการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ใช่ก๊าซปิโตเลียมเหลว(LPG)และก๊าซธรรมชาติ(NGV)เพื่อจำหน่ายที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย
4.3.5.) สถานที่บรรจุก๊าซ สถานที่เก็บก๊าซ และห้องบรรจุก๊าซธรรมชาติ แต่ไม่รวมถึงการย้ายที่บรรจุก๊าซจากสถานที่ตั้งเดิมไปยังสถานที่ใหม่ โดยไม่เพิ่มปริมาณ
5.)การก่อสร้างอาคารหรือดำเนินโครงการหรือประกอบกิจการในพื้นที่คุ้มครองฯ ต้องจัดทำ? รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ? หรือ ? รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ? ส่งให้ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตาม มาตรา 46 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535
 
โครงการที่ต้องทำ IEE / EIA       ติดตาม ภาค 2