ค้นหา

แม่กลองกับพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ภาค3

รายละเอียด รายงาน IEE และ EIA มีดังนี้

1.) IEE. รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

   1.1) ส่วนประกอบรายงานที่สำคัญ
        1.1.1.) บทนำ

กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ เหตุผลความจำเป็นในการดำเนินการโครงการ วัตถุประสงค์การจัดทำรายงานฯ ขอบเขตการศึกษาและวิธีการศึกษา
        1.1.2.) ที่ตั้งโครงการ

โดยมีภาพและแผนที่ตั้งโครงการ รวมทั้งแผนที่แสดงองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการในมาตราส่วนที่เหมาะสม
        1.1.3.) ทางเลือกที่ตั้งโครงการและวิธีการดำเนินโครงการ

พร้อมเหตุผลและข้อพิจารณาในการตัดสินใจเลือกแนวทางที่เสนอ
        1.1.4.) รายละเอียดโครงการ

ให้มีรายละเอียดที่สามารถแสดงภาพรวมได้ชัดเจน ได้แก่ ประเภท ขนาดที่ตั้ง ทางเลือกที่ตั้งโครงการและวิธีการดำเนินการโครงการ พร้อมเหตุผลและข้อพิจารณาในการตัดสินใจเลือกแนวทางที่เสนอ รายละเอียดกระบวนการหรือกิจกรรมประกอบของโครงการ แผนผังการใช้ที่ดินของโครงการ โดยแสดงทิศ และมาตราส่วนที่เหมาะสม
        1.1.5.) สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน

ให้แสดงรายละเอียดพร้อมภาพถ่าย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้าน กายภาพ ชีวภาพ โดยจำแนกเป็นชนิดที่ฟื้นฟูได้และฟื้นฟูไม่ได้ รายละเอียดคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าคุณภาพชีวิต ตลอดจนสภาพปัญหาปัจจุบันบริเวณพื้นที่โครงการ พร้อมแสดงแผนที่สภาพแวดล้อมบริเวณโครงการ การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบโครงการ ตลอดจนบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
        1.1.6.) ผลกระทบหลักที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ

ให้ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นโดยให้ความสำคัญในการประเมินผลกระทบที่มีนัยสำคัญ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากโครงการที่เป็นผลกระทบโดยตรงและผลกระทบทางอ้อมต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่างๆ ตาม 1.1.5
        1.1.7.) มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการชดเชย

อธิบายรายละเอียดในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตาม 1.1.6 และในกรณีที่ความเสียหายไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ให้เสนอแผนการชดเชยความเสียหายดังกล่าวด้วย
        1.1.8.) มาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม

เสนอมาตรการและแผนการดำเนินการในการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทางวิชาการและการปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการติดตามและประเมินผลภายหลังการดำเนินโครงการด้วย
          1.1.9.) ตารางสรุปผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ

พร้อมด้วยมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบดังกล่าว

   1.2) เอกสารและหลักฐานที่ต้องนำเสนอ 
        1.2.1.) รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น จำนวนไม่น้อยกว่า 15 ฉบับ
        1.2.2.) ปกหน้าและปกในของรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ตามท้ายประกาศ 5
        1.2.3.) หนังสือรับรองการจัดทำรายงาน และบัญชีรายชื่อผู้จัดทำรายงาน ตามท้ายประกาศ 6
        1.2.4.) สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ที่มีสิทธิจัดทำรายงาน

2.) EIA - รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม

   2.1) ส่วนประกอบรายงานที่สำคัญ
        2.1.1) บทนำ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ เหตุผลความจำเป็นในการดำเนินการโครงการ วัตถุประสงค์การจัดทำรายงานฯ ขอบเขตการศึกษาและวิธีการศึกษา
        2.1.2) ที่ตั้งโครงการ โดยมีภาพและแผนที่ตั้งโครงการ รวมทั้งแผนที่แสดงองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการในมาตราส่วน1:50,000 หรือมาตราส่วนที่เหมาะสม
        2.1.3) รายละเอียดโครงการ ให้มีรายละเอียดที่สามารถแสดงภาพรวมได้ชัดเจน ได้แก่ ประเภท ขนาดที่ตั้งโครงการ รายละเอียดกระบวยการ หรือกิจกรรมประกอบโครงการ เป็นต้น ตลอดจนแผนผังการใช้ที่ดินของโครงการ โดยแสดงทิศ และมาตราส่วนที่เหมาะสม 
        2.1.4) สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ให้แสดงรายละเอียดพร้อมภาพถ่าย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้าน กายภาพ ชีวภาพ โดยจำแนกเป็นชนิดที่ฟื้นฟูได้และฟื้นฟูไม่ได้ รายละเอียดคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าคุณภาพชีวิต ตลอดจนสภาพปัญหาปัจจุบันบริเวณพื้นที่โครงการ พร้อมแสดงแผนที่สภาพแวดล้อมบริเวณโครงการ การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบโครงการ ตลอดจนบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 
        2.1.5) การประเมินทางเลือกในการดำเนินโครงการและการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ 
                1.) ทางเลือกในการดำเนินโครงการ
ในรายงานฯจะต้องเสนอทางเลือก ซึ่งอาจเป็นทั้งทางเลือกที่ตั้งโครงการและ/หรือวีธีการดำเนินโครงการ โดยทางเลือกที่เสนอทุกทางเลือกจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีเหตุผลว่าบรรลุเป้าหมายละความจำเป็นในการมีโครงการหรือไม่มีโครงการอย่างไร มีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบในทุกทางเลือกและจะต้องระบุทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดที่จะดำเนินโครงการ พร้อมแสดงเหตุผลและความจำเป็นประกอบ
                2.) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ให้ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ ทั้งที่เป็นผลกระทบโดยตรงและผลกระทบทางอ้อมต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่างๆตาม 2.1.4 พร้อมทั้งแยกประเภททรัพยากรเป็นชนิดที่สามารถฟื้นฟูได้และฟื้นฟูไม่ได้ รวมทั้งให้ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในทุกทางเลือกของโครงการเปรียบเทียบกัน
        2.1.6) มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการชดเชย

อธิบายรายละเอียดในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตาม 2.1.5 และในกรณีที่ความเสียหายไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ให้เสนอแผนการชดเชยความเสียหายดังกล่าวด้วย 
        2.1.7) มาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม

เสนอมาตรการและแผนการดำเนินการในการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทางวิชาการและการปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการติดตามและประเมินผลภายหลังการดำเนินโครงการด้วย 
        2.1.8) ตารางสรุปผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ

พร้อมด้วยมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบดังกล่าว

   2.2) เอกสารและหลักฐานที่ต้องนำเสนอ 
        2.2.1) รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น จำนวนไม่น้อยกว่า 15 ฉบับ 
        2.2.2) ปกหน้าและปกในของรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ตามแบบ สผ.2 
        2.2.3) หนังสือรับรองการจัดทำรายงาน และบัญชีรายชื่อผู้จัดทำรายงาน ตามแบบ สผ.3 
        2.2.4) สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ที่มีสิทธิจัดทำรายงาน

ผู้มีสิทธิขอใบอนุญาตทำรายงานฯต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม

   1.) สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือ สถาบันวิจัย ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย
   2.) นิติบุคคล ซึ่งได้จดทะเบียนตามกฎหมายไทย
   3.) นิติบุคคล ซึ่งได้จดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศ
   4.) รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นแต่ในกิจการของรัฐวิสาหกิจนั้น
   5.) สภาการเหมืองแร่ ตามกฎหมายว่าด้วยสภาการเหมืองแร่เฉพาะแต่ในกิจการของสมาชิก
ผู้ได้รับ ใบอนุญาต ข้างต้นจะต้องจัดหา ผู้ชำนาญการอย่างน้อย 1 คน และ เจ้าหน้าที่ อย่างน้อย 3 คน เป็นผู้มีสิทธิทำรายงานฯ

เปรียบเทียบ IEE แม่กลอง กับ EIA      ติดตาม ภาค4 

 

 env_101110003.pdf